เกี่ยวกับเรา

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

คลังข้อมูลข่าวสาร

ระบบ LOG IN

ผู้ใช้งานขณะนี้

มี 153 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

1153093
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
รวม
48
789
2684
1148026
7754
29598
1153093

Your IP: 3.17.154.171
2024-04-20 02:52

ราคาน้ำมันวันนี้

แนะนำ องค์การบริหารส่วนตำบลแคน
    องค์การบริหารส่วนตำบลแคน ได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสภาตำบลมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

ที่ตั้งปัจจุบัน

    องค์การบริหารส่วนตำบลแคน เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่ที่เลขที่ 159 หมู่ที่ 2 ตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากอำเภอวาปีปทุม ประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 39 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา 0.45 ชั่วโมงในการเดินทางจากที่ทำการถึงจังหวัดมหาสารคาม
    องค์การบริหารส่วนตำบลแคนมีเนื้อที่ทั้งหมด 75.56 ตารางกิโลเมตร จำนวนหมู่บ้าน 17 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 6,631 คน แยกเป็น ชาย 3,309 คน หญิง 3,322 คน จำนวนครัวเรือน 1,741 ครัวเรือน (สำรวจล่าสุด มีนาคม 2562) สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลแคน เป็นพื้นที่ราบมีลำห้วยและเขตป่าชุมชน มีจำนวนหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทุกหมู่บ้าน ดังนี้
        หมู่ที่ 1   บ้านแคน
        หมู่ที่ 2   บ้านตำแย
        หมู่ที่ 3   บ้านแวงชัย
        หมู่ที่ 4   บ้านหนองโจด
        หมู่ที่ 5   บ้านโคกกลาง
        หมู่ที่ 6   บ้านเขวาค้อ
        หมู่ที่ 7   บ้านเก่าน้อย
        หมู่ที่ 8   บ้านดู่งิ้ว
        หมู่ที่ 9   บ้านดู่
        หมู่ที่ 10  บ้านแวงเหล่า
        หมู่ที่ 11  บ้านโคกช้าง
        หมู่ที่ 12  บ้านโคกใหญ่เหนือ
        หมู่ที่ 13  บ้านป่าจิก
        หมู่ที่ 14  บ้านหัวนาไทย
        หมู่ที่ 15  บ้านแคนเหนือ
        หมู่ที่ 16  บ้านโคกสะอาด
        หมู่ที่ 17  บ้านโคกใหญ่ใต้
อาณาเขต
ทิศเหนือ
    จดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบัวค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก
    จดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก
    จดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้
    จดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวาย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  TOP    
อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (Authority)

      ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับทึ่ 7 พ.ศ. 2562) ตามรายละเอียดดังนี้
        1. หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติ ตามมาตรา 67 ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
          1.1 จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
          1.2 รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ และทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
          1.3 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
          1.4 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          1.5 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
          1.6 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และพิการ
          1.7 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
          1.8 บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

        2. หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติ ตามมาตรา 68 ซึ่งมีหน้าที่ที่อาจจัดทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
          2.1 ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค และการเกษตร
          2.2 ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          2.3 ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
          2.4 ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อยใจและสวนสาธารณะ
          2.5 ให้มีและส่งเสริมกลุ่มการเกษตรและกิจการสหกรณ์
          2.6 ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
          2.7 บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
          2.8 การคุ้มครองดูแลรักษาทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
          2.9 หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
          2.10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
          2.11 กิจการเกี่ยวกับพานิชย์
          2.12 การท่องเที่ยว
          2.13 การผังเมือง
  TOP    
วิสัยทัศน์ (Vision)
     องค์การบริหารส่วนตำบลแคนในฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
จึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในการที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตำบลในด้านโครง
สร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจด้านสังคด้านวัฒนธรรมด้านการเมืองการบริหารและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องพัฒนา
ท้องถิ่นให้ครอบคลุมในทุกๆด้านและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น "ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ" โดยมุ่งหวังให้ประชาชนอยู่ด้วยกัน
อย่างสงบสุข ได้รับการบริการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นชุมชนปลอดจากอบายมุขและยาเสพติด เยาวชนในเขตพื้นที่มีคุณภาพ ประชาชน
ในเขตพื้นที่มีความสามัคคีกัน และเป็นพลังพัฒนาตำบลให้มีความเจริญ ซึ่งในการพัฒนาต่างๆ ส่งผมให้องค์การบริหารส่วนตำบลแคนสามารถดำเนินการตาม
นโยบายและแผนงาน
     วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแคน
       " การคมนาคมสะดวกสบาย ไฟฟ้าส่องสว่าง ชุมชนมีความเข้มแข็ง แหล่งน้ำพอเพียง สืบเนื่องวัฒนธรรม พื้นที่เกษตรปลอดสารพิษ มีเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ที่ดี "
  TOP    
พันธกิจ (Mission)
        1. จัดการก่อสร้างถนน บำรุงรักษาถนน
        2. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน
        3. ปรับปรุงและพัฒนาระบบแหล่งน้ำให้เพียงพอแก่การอุปโภคบริโภค
        4. ส่งเสริมด้านสาธารณสุขชุมชน
        5. พัฒนาการบริหารการจัดการองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพของบุคคลากร
        6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      มีหลายปัญหาที่องค์การบริหารส่วนตำบลแคน จะต้องเร่งดำเนินการและพัฒนาท้องถิ่นให้มีคุณภาพที่ดี ตรงกับความต้องการของชุมชน โดยสรุปแล้วมีปัญหา
ดังต่อไปนี้

     ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
         
  • เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรังและถนนดิน
         
  • ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟทาง) ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
         
  • > ขาดระบบระบายน้ำในช่วงฤดูฝน ทำให้น้ำท่วมขังในบางช่วง
         
  • โทรศัพท์สาธารณะไม่เพียงพอต่อการบริการของประชาชนแต่ละหมู่บ้าน
         
  • น้ำประปาสำหรับอุปโภคและบริโภคไม่ครบทุกครัวเรือน
         
  • ประชาชนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน


     ด้านเศรษฐกิจ
         
  • ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไม่แน่นอน ขึ้นอยุ่กับผลผลิตตามฤดูกาล
         
  • ยังขาดตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพและสินค้าหนึ่งตำบล
         
  • ขาดวิทยากรแนะนำการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่การขายไปยังตลาดภายนอก
         
  • ยังขาดความรู้ในการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์และวัถุดิบภายในตำบล
         
  • ปัญหาการขาดเงินทุนสนับสนุนกลุ่มส่งเสริมอาชีพ
         
  • ปัญหาการขาดความรุ้ในการบริหารการจัดการ และส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่
         
  • ประชาชนไม่มีความกระตือรือร้นในการทำอาชีพเสริมหลังจากฤดูทำนาเสร็จ


     ด้านสังคม
         
  • เยาวชน เกษตรกรและคนวัยทำงานบางส่วนว่างงาน บางช่วงของฤดูกาล
         
  • ขาดแคลนสนามกีฬา และที่ออกกำลังกายหมู่บ้านและอุปกรณ์กีฬา
         
  • ขาดอุปกรณ์และความรู้ในการป้องกันสาธารณภัย
         
  • ประชาชนยังขาดการรวมตัว มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่สามัคคีร่วมใจพัฒนาตำบล
         
  • มีการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายปกครองและฝ่ายองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างชัดเจน ไม่รวมตัวกันทำงานให้ตำบลประสบผลสำเร็จไปในทางที่ดี


     ด้านการเมืองการบริหาร
         
  • ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจประโยชน์ส่วนรวมและขาดความรุ้ความเข้าใจกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
         
  • การปฎิบัติงานของภาคราชการต้องเพิ่มการประสานงานและสร้างความเป็นเอกภาพ
         
  • ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดจิตสำนึกในการใช้สิทธิ์ และการมีร่วมทางการเมืองอย่างอิสระ
         
  • ขาดอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยในการปฎิบัติงาน
         
  • การจัดเก็บภาษียังไม่ทั่วถึงตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
         
  • นักการเมืองท้องถิ่นขาดความสามัคคีและไม่รู้จักบทบาท อำนาจหน้าที่ของตนเอง


     ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         
  • ประชาชนยังขาดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
         
  • ขาดระบบการจัดการด้านมลพิษต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาขยะมูลฝอย
         
  • ประชาชนในพื้นที่ยังนิยมใช้สารเคมีต่างๆ ในการทำเกษตรทำให้ทำลายสิ่งแวดล้อม
         
  • ประชาชนในพื้นที่ขาดจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด
         
  • ขาดหน่วยงานรับผิดชอบด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยตรงในท้องถิ่นและชุมชนต่างๆ
  TOP    
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
         
  • ดำเนินการจัดระบบคมนาคมให้ทั่วถึง เพื่อนความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชน ตลอดจนก่อสร้างถนนให้มีมาตรฐานสามารถนำผลผลิตทางการ
    เกษตรออกสู่ตลาดได้สะดวกและรวดเร็ว
         
  • กำจัดวัชพืชและขุดลอกคูคลอง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร
         
  • จัดสร้างระบบระบายน้ำในเขตตำบลให้สามารถระบายน้ำได้ทันท่วงที
         
  • ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะให้เพียงพอ
         
  • ขยายระบบประปาหมู่บ้านให้มีน้ำไว้สำหรับบริโภคครบทุกครัวเรือน
         
  • ขยายเขตไฟฟ้าให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน


     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน
         
  • ส่งเสริมการผลิตสินค้าแปรรูปจากการเกษตรให้มีมาตรฐานและคุณภาพและส่งขายตลอดภายนอกได้
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ในการประกอบอาชีพของกลุ่มอาชีพ
         
  • จัดฝึกอบรมถ่ายทอดวิธีดำเนินงานด้านการตลาดให้กับประชาชน
         
  • จัดสร้างตลาดจำหน่ายสินค้าประจำตำบล (OTOP)
         
  • ส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนทำอาชีพเสริมหลังฤดูทำนา


     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม
         
  • สนับสนุนการจัดบริการของสถานีอนามัยและบริการสาธารณสุขมูลฐานให้ครอบคลุม
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติด
         
  • ส่งเสริมและให้ความสำคัญแก่ เด็ก เยาวชน สตรี คนชรา ผู้พิการ และผู้ยากไร้
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการป้องกันโรคระบาดชนิดต่างๆให้หมดไปจากเขต อบต.


     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
         
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีและสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการบริหารงานแก่ประชาชน
         
  • พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ และสรรหาบุคลากรเพิ่มเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
         
  • จัดซื้ออุปกรณ์ในการปฎิบัติงานให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพในการปฎิบัติราชการ
         
  • อบรมบุคลากรให้มีจิตสำนึกในหน้าที่และการปฎิบัติงานอย่างสุตจริต ทีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
         
  • ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี นำระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาใช้ในการจัดเก็บภาษี
         
  • จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่สามชิกสภาท้องถิ่นทุกระดับและอบรมพนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างทุกคน
         
  • จัดระบบและปรับปรุงกลวิธีในหน่วยการปฎิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างประจำ
         
  • ปลุกจิตสำนึกนักการเมืองท้องถิ่นให้มีความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง

     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         
  • ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
         
  • จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรงในท้องถิ่นและชุมชน
         
  • ให้ประชาชนในเขตพื้นที่มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ
         
  • จัดการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นแหล่งพักผ่อนประจำตำบล
         
  • ขุดลอกคูคลองและกำจัดวัชพืชในร่องน้ำ คูคลองให้สะอาดปราศจากวัชพืชและผักตบชวา
         
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ เกี่ยวข้องกับการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและบรรเทาสาธารณภัยทุกชนิด


     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านระบบการศึกษา การศาสนา และนันทนาการ และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำองค์การบริหารส่วนตำบล
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดระบบการเรียนรู้การศึกษาในระบบและนอกระบบของโรงเรียน
         
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดงานประเพณีที่สำคัญต่างๆ ภายในตำบล
         
  • อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและโบราณสถานที่สำคัญ
         
  • ส่งเสริมให้มีมุมการศึกษาพัฒนาการของ อบต. ทุกโรงเรียนในพื้นที่
         
  • สนับสนุนงบประมาณอุดหนุนโรงเรียนในเขต อบต. ให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันทุกคนทุกมื้อในช่วงเปิดเรียน
         
  • จัดหาเครื่องเล่นสนามเด็กเล่นให้โรงเรียนในเขต อบต.
  TOP    

ประกาศจัดซื้อจัดจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลแคน

หนังสือราชการจากกรมส่งเสริมการปกครองถ้องถิ่น

เยี่ยมชม/ติดตามกิจกรรมต่างผ่าน FACEBOOK ที่นี้

บทความที่น่าสนใจล่าสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์

Copyright © 2006 [องค์การบริหารส่วนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 44120]
[Tel. 043-706866 , Fax. 043-706866]
[กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย]
E-mail :: saraban@tambolkaen.go.th , tambolkaen@tambolkaen.go.th

Designed for Screen Res. 1280x900 , IE 7.0 , Firefox 3.x